Uncategorized @th
รูปทรงของกรวยจราจรและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ
รูปทรงของกรวยจราจรและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ
ปัจจุบันนี้ โดยปกติ กรวยจราจรที่เราเห็นกันตามท้องถนน นั้นจะเป็นรูปทรงที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด แต่จริง ๆ แล้วกรวยจราจรนั้นมีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างออกไป อีกทั้งยังสามารถหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกันเพื่อเพิ่มลักษณะการใช้งานที่มากขึ้น
โดยรูปทรงของกรวยจราจร จะมีหลัก ๆ ดังนี้
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรวยจราจรรูปทรงกรวยนั้นเป็นที่นิยม พบเห็นกันได้ทั่วไป มักวางตามพื้นถนนและพื้นที่ก่อสร้าง เขตพื้นที่อันตรายและจะติดแถบสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มความเด่นชัด แต่ถ้าเป็นกรวยจราจรแบบที่ไม่ติดแถบสะท้อนแสงจะนิยมใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นงานกีฬา เป็นต้น
-
กรวยจราจรทรงสามเหลี่ยม จะมีพื้นที่ในการทำสติกเกอร์องค์กรหรือป้ายเตือนต่าง ๆ ติดไว้ เพื่อบ่งชี้จุดประสงค์ในการวางตั้งในพื้นที่นั้น ๆ
-
กรวยจราจรรูปทรงสี่เหลี่ยม มักจะติดแถบสติกเกอร์สะท้อนแสงสลับสีขาวแดงหรือเหลืองดำ
-
กรวยจราจรทรง 8 เหลี่ยม (ผลิตจากวัสดุยางพารามีความเหนียวกว่าโพลิเมอร์) สะท้อนแสงดีกว่ากรวยจราจรรูปทรงกรวย แสงของรถจะปะทะกับเหลี่ยมทั้ง 8 ของกรวยได้ดีกว่า จึงเห็นได้ชัดกว่า กรวยจราจร 8 เหลี่ยมจะถูกออกแบบให้มีรู ทำให้ลมผ่าน ไม่ปะทะลม
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรวยจราจรแบบพับได้ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกในการพกพา เช่น ไว้ติดรถยนต์เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
ส่วนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ของกรวยจราจร ที่นิยมใช้งานกัน จะมีดังนี้
-
ยางเพิ่มน้ำหนัก ใช้เพิ่มน้ำหนักกรวย เพื่อป้องกันการล้มและเคลื่อนที่จากการเฉี่ยวชนจากรถยนต์หรือแรงลม แต่บางรุ่นก็อาจจะมีฐานยางมาอยู่แล้ว
-
หัวสวมกรวยจราจร เพื่อเพิ่มความสูงอีก 10 เซนติเมตร เช่น จาก 80 เป็น 90 เซนติเมตร
-
ป้ายติดกรวยจราจร เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์จราจรหรือติดโลโก้ หรือโฆษณาร้านค้าต่าง ๆ ได้
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ห่วงคล้องโซ่ ใช้สวมกับกรวยจราจรได้ทุกขนาด เพื่อใช้โซ่คล้องระหว่างกรวยสำหรับกั้นเขต จัดพื้นที่ เพื่อความเป็นระเบียบ
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ไฟกระพริบ ใช้ติดบริเวณด้านบนของกรวย เพื่อใช้ในการงานก่อสร้างหรือพื้นที่อันตราย เพิ่มความเด่นชัดในเวลากลางคืน
รายละเอียด ยูโรเทป
รายละเอียด ไม้กั้นเขต
รายละเอียด โซ่พลาสติก
-
อุปกรณ์กั้นเขต ใช้สำหรับกั้นบุคคลหรือยานพาหนะเข้าพื้นที่นั้น ๆ อุปกรณ์กั้นเขตจะมีหลายประเภท ทั้งแบบสายไฟ LED, โซ่กั้นเขต, เทปยูโรยืดได้หดได้ (หรือเทปยูโรแบบพันใช้แล้วทิ้งก็ได้), ไม้กั้นเขต (บาริเคต) แบบยืดได้และแบบยืดไม่ได้
Uncategorized @th
วัสดุที่ใช้ทำ “กรวยจราจร” มีอะไรบ้าง
วัสดุที่ใช้ทำกรวยจราจรมีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันนี้ กรวยจราจรนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และก็ยังสามารถเลือกวัสดุที่ใช้ผลิตได้ อีกทั้งยังมีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในครั้งนี้ เราจะมาจำแนกวัสดุที่ใช้ผลิตกรวยจราจรว่า แต่ละวัสดุมีคุณสมบัติความแตกต่างอย่างไรบ้าง
กรวยจราจรนั้น โดยปกติแล้ว จะใช้สำหรับแบ่งเขตถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย สามารถบ่งบอกพื้นที่ต่าง ๆ ป้องกันเป็นพื้นที่ห้ามเข้า ซึ่งกรวยจราจรที่ใช้งานได้มาตรฐานนั้น จะต้องมีสีสันใส สะดุดตา มองเห็นได้ง่าย หรืออาจจะมีคาดแถบสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มจุดสังเกตให้เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อใช้งานในเวลากลางคืนอีกด้วย
วัสดุที่นิยมนำมาผลิตกรวยจราจร โดยปกติแล้วจะมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
-
EVA (Ethylene Vinyl Acetate)
เป็นวัสดุพลาสติกที่ย่อยสลายได้ มีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ดี น้ำหนักเบา ขึ้นรูปได้ง่าย มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมได้ดี ให้สีสันที่สดใส ทนต่อแรงกระแทก การกัดกร่อนของสารเคมี
-
PE (Polyethylene)
มีความขุ่น โปร่งแสง มีความลื่นมันในตัวเอง เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น มีความยืดหยุ่นได้ดี ไม่มีกลิ่น มีความเหนียว แต่ทนความร้อนได้ไม่มากนัก
-
HDPE (High Density Polyethylene)
มีความหนาแน่น ยืดหยุ่น ทนต่อแรงต้านทานได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อการแตกหัก โค้งงอได้ดีกว่าวัสดุ PE ชนิดอื่น ๆ มีความขุ่น แสงสามารถลอดผ่านได้น้อย สามารถป้องกันกรดและด่างได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดีมาก นิยมใช้ ในการผลิตงานจากพลาสติกที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น ถุงร้อน ท่อทนสารเคมี ท่อน้ำประปา ถังน้ำ เป็นต้น
-
PVC (Poly vinyl chloride)
มีความทนทาน น้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานต่อสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้าได้อย่างดี ไม่ดูดซับความชื้น แต่ทนทานความร้อนได้ไม่ดีนัก และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นวัสดุสำหรับใช้ผลิตกรวยจราจรที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีราคาที่แตกต่างกัน (ราคาขึ้นอยู่กับขนาดความสูงด้วย) ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคงทนสูงสุด
*ทั้งนี้ ท่านสามารถเลือกชมอุปกรณ์จราจรชนิดอื่น ๆ ได้ที่นี่*
Uncategorized @th
ข้อควรรู้ ก่อนซื้อหน้ากาก N95
ข้อควรรู้ ก่อนซื้อหน้ากาก N95
ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์วิกฤตทางสุขภาพด้วยกันถึง 2 สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์แรก คือ วิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่เรียกว่า “ฝุ่นละออง PM 2.5” มีผลกระทบอย่างมากกับสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง ไอ จามหรือมีเสมหะ รวมไปถึงอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับปอดต่าง ๆ และอีกหนึ่งสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ก็คือ “COVID-19” ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มาจากไวรัสที่มีชื่อว่า “ไวรัสโคโรน่า” การระบาดมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 อันตรายของมันทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
เราสามารถป้องกันเบื้องต้นได้โดยการสวมใส่หน้ากากที่ได้รับคำแนะนำว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 และเชื้อโรคได้ ซึ่งหน้ากากนั้นผู้คนส่วนใหญ่เรียกว่า “หน้ากาก N95” ข้อควรรู้เกี่ยวกับหน้ากาก N95 มีดังนี้
หน้ากาก N95 คืออะไร
หน้ากาก N95 คือ หน้ากากที่มีความหนามากกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป โดยหน้ากาก N95 มี 2 แบบคือ ชนิดมีวาล์วเปิด – ปิด เพื่อให้หายใจสะดวก กับชนิดที่ไม่มีวาล์ว ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า แต่ใส่แล้วจะอึดอัดกว่า เพราะหายใจลำบาก จัดเป็นหน้ากากที่อยู่ในประเภทใช้แล้วทิ้ง มีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาด 0.1 – 0.3 ไมครอน ได้ 95% เป็นอย่างน้อย N95 : เป็นการรับรองของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรับรองว่าหน้ากากนี้มีประสิทธิภาพในการกรอง 95% (หากเลขมากกว่านั้น เช่น N99 หมายถึง มีประสิทธิภาพในการกรอง 99%) จึงสามารถป้องกันฝุ่นละออง และเชื้อโรคได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยธรรมดา โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 กับโรค COVID-19 ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน
ควรเปลี่ยนหน้ากากเมื่อไหร่
ข้อแนะนำที่ดีที่สุดคือ ควรเปลี่ยนหน้ากากทุกวัน เพราะประสิทธิภาพในการป้องกันของหน้ากากจะลดลงตามอายุการใช้งาน รวมทั้งยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และแบคทีเรียอีกด้วย แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงจะให้เปลี่ยนทุกวันก็อาจกระทบกับรายรับรายจ่ายในแต่ละวันได้ หากไม่สามารถเปลี่ยนหน้ากากทุกวันให้สังเกตจากสีของหน้ากากว่า เปลี่ยนสีมากน้อยแค่ไหน ถ้าหน้ากากสีขาวสะอาดเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทาก็ถึงคราวต้องเปลี่ยนแล้ว (ไม่ควรใช้ซ้ำเกิน 3 วัน) ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ หากมีอาการไอ จามบ่อย ๆ หรือต้องผ่านในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคมาก ๆ ก็ควรต้องเปลี่ยนหน้ากากบ่อย ๆ เช่นกัน
ข้อควรระวังที่ควรทราบก่อนซื้อใช้
1) ระวังของปลอม ในช่วงที่มีความต้องการสินค้าใดสินค้าหนึ่งมาก ๆ มิจฉาชีพอาจฉวยโอกาสในการผลิตหน้ากาก N95 ที่ไม่ได้มาตรฐานออกมาขายปะปนกับหน้ากาก N95 ของจริง ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อหน้ากาก N95 จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือด้วย ข้อสังเกตง่าย ๆ คือ ราคาจะถูกมากเกินไป มีความบางกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็น หรือมีการสะกดชื่อแบรนด์ผิด เป็นต้น
2) หน้ากาก N95 มีชั้นกรองอากาศที่ค่อนข้างละเอียด อาจทำให้การหายใจลำบากกว่าการใช้หน้ากากอนามัยธรรมดา ดังนั้นผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคปอด อาจจะต้องลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาหน้ากากที่เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละคน
3) หน้ากาก N95 อาจไม่เหมาะกับเด็กเล็กมาก เพราะขนาดที่ใหญ่ อาจทำให้ไม่สามารถคลุมจมูก และปากในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ ดังนั้นอาจปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธี หรือหาหน้ากากที่เหมาะสมกับเด็กเล็ก
การป้องกัน และรักษาสุขภาพตัวเราเองเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะกับสถานการณ์วิกฤตตอนนี้ที่ยังคงเกิดฝุ่นละออง และเชื้อโรคที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากกับร่างกาย เราสามารถป้องกันตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการสวมใส่หน้ากากป้องกันเวลาออกนอกบ้าน ไม่ว่าจะออกไปเที่ยว ออกไปทำงาน ทำธุระ เป็นต้น นอกจากนี้หน้ากาก N95 มีหลายรุ่น หลายแบบ เนื่องมาจากความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน เราจะต้องรู้จักหน้ากากแต่ละรุ่น รู้จักวิธีการใช้หน้ากากให้ถูกต้องตามลักษณะ
หากต้องการหน้ากาก N95 ตอนนี้เรามีสต็อก 3 รุ่น คือ
1) หน้ากาก N95 รุ่น 8210 เป็นหน้ากาก N95 สามารถป้องกันอนุภาคของฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นหน้ากากชนิดไม่ต้องบำรุงรักษา มีขนาดมาตรฐาน ผลิตจากโพลีโพรพีลีน พร้อมเสริมด้วยเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิตเพื่อสำหรับดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวมใส่ได้อย่างสบาย ไม่รัดจนเกินไป ตลอดการใช้งาน
2) หน้ากาก N95 รุ่น 8210V สามารถป้องกันอนุภาคของฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นหน้ากากชนิดไม่ต้องบำรุงรักษา ผลิตจากโพลีโพรพีลีน พร้อมเสริมด้วยเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิตเพื่อสำหรับดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวมใส่ได้อย่างสบาย ไม่รัดจนเกินไป ตลอดการใช้งาน เหมาะสำหรับป้องกันฝุ่น และ ละออง ที่เป็นพิษ, ป้องกันเชื้อไวรัส แพร่กระจาย โดย 1 กล่อง บรรจุ 10 ชิ้น
3) หน้ากาก N95 รุ่น หน้ากากชนิดใช้แล้วทิ้ง สำหรับป้องกัน ฝุ่น ละออง ฟูมโลหะ และเชื้อโรค กันฝุ่นละออง 0.3 ไมครอน สามารถพับได้ พกพาได้สะดวก และประหยัดพื้นที่เก็บ มาตรฐาน NIOSH 42 CFR 84 N95 1 กล่อง บรรจุ 50 ชิ้น
Uncategorized @th
รู้จักอันตราย และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ
รู้จักอันตราย และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากทางน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติ คือ การโดยสารผ่านการขนส่งทางเรือ หรือเกิดกับเด็ก ๆ ที่มีบ้านใกล้คลอง ใกล้แหล่งน้ำ, ช่วงปิดเทอมของเด็กนักเรียน ที่ชอบลงเล่นน้ำคลายร้อน และช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น วันลอยกระทง ที่จะมีผู้ใหญ่ เด็ก ๆ ไปร่วมเทศกาล นั่งเรือไปลอยกระทงกลางน้ำ หรือบางส่วนที่จะลงน้ำเก็บเงินในกระทง
อุบัติเหตุสามารถป้องกัน หรือลดจำนวนลงได้ หากทุกท่านดูแลตัวเอง และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รู้จักความเสี่ยง ความอันตรายของการจมน้ำ รู้จักป้องกันตัวเอง ฝึกเรียนว่ายน้ำ และอีกวิธี คือ รู้จักการใช้อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ โดยจะมีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้
1. ห่วงชูชีพ – มี 2 แบบ คือ แบบไฟเบอร์กลาส เป็นห่วงชูชีพที่เหมาะสำหรับใช้งานกลางแจ้ง เพราะตัวห่วงเป็นวัสดุไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีความทนทานสูง มีให้ขนาดทั้ง 24 นิ้ว และ 28 นิ้ว และแบบโฟม ห่วงชูชีพโฟม ขนาด 24 นิ้ว ผลิตจากโฟมสังเคราะห์ PolyEthylene (PE) อัดขึ้นรูปวงกลม ห่อหุ้มภายนอกด้วยผ้าสีขาว คาดด้วยแถบผ้าสีแดง เหมาะสำหรับงานกู้ภัยทางน้ำ และติดตั้งบนเรือยนต์เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
2. เสื้อชูชีพ – ผลิตจากโฟม POLYETHYLENE หุ้มด้วยผ้าไนล่อนติดนกหวีด สำหรับเป่าเพื่อขอความช่วยเหลือขนาดเสื้อเป็นไซส์มาตรฐาน สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 80 – 90 กิโลกรัม หลังการใช้งานแล้วทุกครั้ง ให้นำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิททุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปเก็บในชั้นวาง หรือในที่ร่ม เพราะหากเราเก็บในที่ร่มขณะที่เสื้อชูชีพยังเปียก หรือยังไม่แห้งสนิท จะทำให้มีกลิ่นเหม็นอับ และเกิดเป็นราขึ้นได้
3. เชือกช่วยชีวิตทางน้ำ – ผลิตจากเส้นใยโพลีโพรพีลีน ความยาว 30 เมตร ทนแรงดึงได้ประมาณ 250 กิโลกรัม สำหรับคล้องกับห่วงไฟเบอร์ โยนให้ผู้ประสบภัยแล้วดึงเชือกกลับมา
อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำนั้นมีหลายแบบ การเลือกใช้งานควรพิจารณาจากความชอบ การใช้กับสถานที่ หรือสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยบ้านใกล้แหล่งน้ำ ผู้ที่ใช้การโดยสารทางเรือ และการท่องเที่ยว กิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันดูแลตัวเอง ดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด ไม่ประมาท รู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างเหมาะสม เพื่อที่การเกิดอุบัติเหตุทางน้ำจะสามารถลดน้อยลง หรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้
Uncategorized @th
เลือกรองเท้าบูทยางอย่างไร ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
เลือกรองเท้าบูทยางอย่างไร ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบัน รองเท้าบูทยาง มีการผลิตหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เราใช้รองเท้าบูทยาง เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงาน ที่ต้องสัมผัสกับน้ำ น้ำมัน โคลน สารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ถึงแม้รองเท้าบูทยางจะมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เช่ นเดียวกัน เรามีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเลือกรองเท้าบูทยาง
1. วัสดุที่ใช้ในการผลิต
ควรเลือกรองเท้าบูท ที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ มีความยืดหยุ่น และมีความคงทนแข็งแรง เพื่อช่วยลดแรงกระแทกจากการเดิน และป้องกันการกระแทกจากภายนอก กรณีทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
2. ขนาดรองเท้า
ควรเลือกขนาดให้พอดีเท้า ไม่ควรหลวมจนเกินไป เพื่อความคล่องตัวในการใส่ทำงาน
3. พื้นรองเท้าบูทยาง
ควรเลือกพื้นรองเท้าบูทยาง ที่มีคุณสมบัติกันลื่นได้ดี มีน้ำหนักเบา พื้นนิ่ม เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดการเกิดอาการปวดเมื่อย และป้องกันอุบัติเหตุ ในระหว่างการทำงาน
4. การใช้งาน
– หากต้องทำงานในที่ที่ต้องยกของหนัก ๆ หรือจำเป็นต้องทำงานในที่ที่มีเครื่องจักร หรือ ยานพาหนะ จำนวนมาก ๆ การหล่นของสิ่งของนั้น เป็นปัจจัยแรก ๆ ของอันตรายต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การใส่รองเท้าบูทยางที่เสริมหัวเหล็ก เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันของตกใส่เท้า ช่วยป้องกันนิ้วเท้าหัก และการบาดเจ็บของเท้าได้
– หากต้องทำงานในสภาพแวดล้อมบางแห่ง อาจจะมีวัตถุที่แหลมคม ซึ่งสามารถบาด หรือเจาะ ทำให้เท้าได้รับบาดเจ็บ การใส่รองเท้ายางพื้นที่แข็งแรง และพื้นเสริมแผ่นเหล็ก เพื่อป้องกันตะปูเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ป้องกันการเจาะทะลุ
คุณสมบัติของรองเท้าบูทที่ดี
รองเท้าบูทที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สวมใส่สบาย ไม่อึดอัด สะดวกในการใช้งาน มีความคล่องตัวสูง น้ำหนักเบา ป้องกันการลื่นได้ดี ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อีกทั้งยังต้องกันน้ำ น้ำมัน และไฟฟ้าสถิตย์ได้ดี
รองเท้าบูทยางสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะใช้งานใน ตลาดสด โรงงานน้ำแข็ง ไร่นา ท่าเรือ ห้องเย็น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า งานก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน
Uncategorized @th
ถังดับเพลิง…เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน
ถังดับเพลิง เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน
การเกิดเพลิงไหม้ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ หรือเกิดจากความประมาทส่วนบุคคล ก็ได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน ดังที่ว่า “โจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” ดังนั้นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยในการดับเพลิงจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน หรือตัวบุคคล ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการดับเพลิงนั้นมีหลากหลายประเภท ประสิทธิภาพในการดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ผู้ใช้งานควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ
เราจะยกตัวอย่างอุปกรณ์ในงานดับเพลิงใกล้ตัว ที่เป็นที่ยอมรับกันในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งก็คือ “ถังดับเพลิง” ถังดับเพลิงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อระงับเหตุไฟไหม้ที่รวดเร็วอย่างหนึ่ง มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีจุดประสงค์ในการใช้ต่างกัน
ถังดับเพลิงสามารถแยกออกเป็น 5 ประเภท คือ
1) ชนิดผงเคมีแห้ง ส่วนใหญ่เป็นถังสีแดง สามารถใช้ดับเพลิงได้เกือบทุกรูปแบบ เช่น เศษไม้ เศษผ้า กระดาษ พลาสติก น้ำมัน และเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ถังดับเพลิงประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้กับงานทั่วไป ทั้งภายนอก และภายในอาคาร อาคารที่พักอาศัย บ้าน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
2) ชนิดเคมีสูตรน้ำ ถังเป็นสีฟ้า หรือสีเขียว เป็นสารเคมีเหลวที่มีความเย็นจัด เมื่อฉีดพ่นจะระเหยกลายเป็นไอทันทีสามารถดับเพลิงไหม้ได้ทั้งจากเชื้อเพลิงของแข็ง ของเหลว เชื้อเพลิงที่มีสื่อไฟฟ้า และเชื้อเพลิงที่มาจากไขมันอาหาร เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องคอมพิวเตอร์ คลีนรูม โรงพยาบาล ไลน์การผลิต ห้องไฟฟ้า ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3) ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ถังเป็นสีแดง ปลายกระบอกฉีดมีขนาดใหญ่ ชนิดของสารมีลักษณะเป็นไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนและดับไฟได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทิ้งคราบสกปรกไว้ สามารถใช้ดับเพลิงจากเชื้อเพลิงของเหลว และเชื้อเพลิงที่มีสื่อไฟฟ้าได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคาร อาคารการผลิตขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
4) ชนิด BF2000 ใช้ดับเพลิงจากเชื้อเพลิงของแข็ง ของเหลว มีสื่อไฟฟ้า และเชื้อเพลิงจากโลหะได้ เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคาร บริเวณที่มีความละเอียดอ่อน อย่างห้องคอมพิวเตอร์ ห้องแลป ห้องเก็บอุปกรณ์สื่อสาร หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
5) ชนิดน้ำยาโฟม ใช้ดับเพลิงจากเชื้อเพลิงของแข็ง และของเหลวได้ แต่ไม่สามารถดับเพลิงที่มีสื่อไฟฟ้าได้ เนื่องจากโฟมมีลักษณะของสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเชื้อเพลิง สารไวไฟ ปิโตรเคมี ปั๊มน้ำมัน อาคารที่พักอาศัย ร้านอาหารที่มีเตาความร้อนสูง และห้องเก็บเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ทินเนอร์ สารระเหยติดไฟง่าย เป็นต้น
เพื่อให้อันตรายจากเหตุเพลิงไหม้ลดลง การเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับงานมีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่สำคัญในการพิจารณาเลือกใช้งานถังดับเพลิง คือ ประเภทของสถานที่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ควรเลือกถังดับเพลิงตามประเภทให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดกับทรัพย์สิน และชีวิตผู้ใช้งาน
Uncategorized @th
อุปกรณ์จราจรสำคัญอย่างไร
อุปกรณ์จราจรสำคัญอย่างไร
โดยปกติแล้ว อุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างเช่น การฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ขับรถเร็ว หลับใน หรือแม้กระทั่ง ทัศนวิสัยไม่ดี เป็นต้น แต่ปัจจัยต่าง ๆ นี้ มีปัจจัยพื้นฐานคือ “ความประมาท” ความประมาทของผู้ใช้ถนนนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่เราไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมความประมาทของผู้อื่นได้ เราก็สามารถควบคุมตัวเราเองได้ ซึ่งวิธีแรกก็คือการปฎิบัติตามกฎจราจร คอยสังเหตุสัญญาณจราจร และอุปกรณ์จราจรที่คอยเตือนต่าง ๆ อยู่เสมอในระหว่างการใช้ถนน โดยในครั้งนี้เรามาทำความรู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์จราจรกันก่อน อุปกรณ์จราจรเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานเพื่อควบคุมความเป็นระเบียบจราจร ในการใช้เส้นทางต่าง ๆ บนท้องถนน และยังถือเป็นสัญลักษณ์ที่คอยเตือนผู้ใช้รถบนถนน ให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ถนนได้เป็นอย่างดี ยังลดอันตราย หรืออุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้
อุปกรณ์จราจรหลัก ๆ มีอะไรบ้าง และใช้งานอย่างไร
1. กรวยจราจร เหมาะสำหรับใช้ในการ แบ่งเขตแดนถนน เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน บ่งบอกพื้นที่เขตก่อสร้าง ป้องกันเขตพื้นที่ห้ามเข้า อีกทั้งยังมีไว้สำหรับเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง หรือมีสิ่งกีดขวางบนผิวถนน ตั้งไว้เพื่อเตือนว่า ทางข้างหน้าอาจจะมีอุบัติเหตุ เป็นเขตก่อสร้าง หรือซ่อมแซมถนน โดยกรวยจราจรนี้มักใช้กับงานจราจร ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก
2. กระจกมองทางโค้ง เหมาะสำหรับใช้ ติดตั้งตรงทางโค้งแคบ ถนนใหญ่ ในชุมชน หรือพื้นที่ทีมีมุมอับต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และการมองเห็นที่ชัดเจน แก่ผู้ขับขี่ในบริเวณทางจราจร ที่เป็นทางแยก หรือทางโค้งหักศอก ที่มีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่สะดวก ชัดเจนมากขึ้น เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้
3. แบริเออร์ เหมาะสำหรับใช้กั้นแนวขอบเขตพื้นที่ก่อสร้าง และใช้ติดตั้งเพื่อความปลอดภัย ในการแบ่งเขตจราจร โดยจัดวางไว้ริมข้างทาง หรือกลางถนนเพื่อความเป็นระเบียบในการจราจร สามารถเติมน้ำหรือทรายได้ ช่วยรับแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง
4. เสื้อจราจร สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เน้นความปลอดภัย ตัวเสื้อติดแถบสะท้อนแสง เพื่อให้เห็นชัดเจน แม้ในตอนกลางวัน และตอนกลางคืน
5. ป้ายจราจร หรือเครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) เป็นตัวช่วยหนึ่งของอุปกรณ์จาจร ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ทางจราจร ที่ใช้ในการควบคุมการจราจร เพื่อกำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด อาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักคือ เครื่องหมายจราจร ป้ายเตือน, เครื่องหมายจราจร ป้ายบังคับ, เครื่องหมายจราจร ป้ายแนะนำ เป็นต้น
6. แผงกั้นจราจร เหมาะสำหรับใช้ในไซต์งานก่อสร้าง อาคารที่จอดรถ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้าน และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับยานพาหนะ สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการแบ่งเขตทำงานที่ชัดเจน ตลอดทั้งใช้กั้นแนวในการจอดรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถ และใช้กั้นพื้นที่ห้ามเข้าต่าง ๆ
อุปกรณ์จราจร เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ เพราะหากไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว อาจจะทำให้เกิดความสับสนในการใช้พื้นที่บนท้องถนน ทั้งนี้จึงอยากให้ผู้ใช้งานควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ไม่ควรฝ่าฝืนกฎจราจร และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้
Uncategorized @th
วิธีป้องกันตนเองช่วงวิกฤตฝุ่นพิษ
วิธีป้องกันตนเองช่วงวิกฤตฝุ่นพิษ
อากาศที่เราหายใจเข้าไปไม่ใช่อากาศที่บริสุทธิ์ เพราะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 รวมถึงเชื้อโรค และสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มองไม่เห็นอีกมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วจมูกของเรา จะมีขนจมูกที่ช่วยกรองฝุ่นละอองต่างๆ ก่อนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ปัจจุบันในประเทศไทยได้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง PM2.5 ซึ่งจมูกไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน เพราะอาจส่งเป็นอันตราย และผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างมากในภายหลัง
วิธีการป้องกันฝุ่น PM2.5
1. งดออกกำลังกาย-สวมหน้ากาก ในช่วงเวลาที่อากาศมีฝุ่นควัน PM2.5 ในปริมาณสูง อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม และการออกกำลังกายนอกบ้านเป็นเวลานาน ๆ หากจำเป็นควรใส่หน้ากาก ที่สามารถป้องกันฝุ่นควันขนาดเล็กมากได้ เช่น หน้ากากชนิด N95 หรือ FFP2 โดยต้องใส่ให้ขอบแนบสนิทกับโครงรูปหน้า เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกรั่วเข้าไป ส่วนหน้ากากอนามัยธรรมดา ป้องกันได้แต่ฝุ่นหยาบ ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละเอียดเข้าสู่ร่างกายได้
2. ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่นพิษ การอยู่ในอาคาร หรือบ้านที่เปิดประตูหน้าต่างตามปกติจะได้รับฝุ่นควันเท่ากับนอกบ้านทุกประการ
3. ลดการเปิดรับฝุ่นพิษเข้าอาคาร ห้องแอร์ขนาดใหญ่ที่ซีลไม่สนิทมีช่องให้อากาศภายนอกเข้าได้ง่าย หรือมีคนเข้าออกตลอดเวลา เช่น ร้านอาหาร ห้องเรียน ห้องทำงานหรือห้องรับแขก ปริมาณฝุ่นควันในห้องจะลดลงได้น้อยมาก ช้ามาก หรือแทบจะไม่ได้เลย
4. ปิดห้องแอร์ให้สนิท ช่วยลดฝุ่นพิษ ห้องแอร์ที่ซีลค่อนข้างดี ถ้าปิดประตูหน้าต่างให้สนิท จะทำให้ฝุ่นควันลดลงได้ แต่จะลดลงได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของนอกบ้าน และใช้เวลาค่อนข้างนานมาก
5. เครื่องฟอกอากาศช่วยอากาศปลอดภัย ห้องแอร์ที่ซีลค่อนข้างดี และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท การใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดมีแผ่นกรอง HEPA ที่มีขนาดเหมาะสม กับขนาดห้อง จะช่วยลดปริมาณฝุ่นควันได้มากกว่า เร็วกว่า และสามารถลดจนได้ระดับสภาพอากาศที่ปลอดภัยได้
6. พัดลม+เครื่องฟอกอากาศลดฝุ่น สำหรับห้องที่ไม่ติดแอร์ หรืออากาศเย็น การใช้พัดลม ร่วมกับการใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดมีแผ่นกรอง HEPA สามารถลดปริมาณฝุ่นควันได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องปิดประตูหน้าต่างทุกบานด้วย ไม่ต้องกลัวเรื่องอากาศไม่ถ่ายเท เพราะปกติจะมีช่องตามขอบหน้าต่างประตูให้อากาศภายนอกรั่วไหลเข้าไปในบ้านได้
7. ดูแลความสะอาดเครื่องปรับอากาศในรถลดฝุ่นได้ ระบบปรับอากาศ และกรองอากาศในรถยนต์ที่ได้รับการดูแลสม่ำเสมอได้ผลดีมาก สามารถลดปริมาณฝุ่นควันได้เร็ว และถึงระดับปลอดภัยได้โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องฟอกอากาศช่วย
อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5
ร่างกายของผู้ที่แข็งแรงเมื่อได้รับฝุ่น PM2.5 อาจจะไม่ส่งผลกระทบให้เห็นในช่วงแรกๆ แต่หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสะสมในร่างกาย สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายในภายหลัง
ที่มา : https://news.thaipbs.or.th
Uncategorized @th
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
คือการนำเอาเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร อันทันสมัยมาใช้เพื่อทุ่นแรง และประหยัดเวลา แต่ไม่มีความปลอดภัยในการก่อสร้าง ความปลอดภัยพื้นฐานในงานก่อสร้างยังถูกละเลย ขาดความสนใจ และเอาใจใส่จากผู้รับเหมาและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ นอกจากนี้คนงานยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกความปลอดภัยในการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม
องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ความปลอดภัยในสถานที่
สถานที่ก่อสร้าง หมายถึง อาณาบริเวณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมิใช่เฉพาะบริเวณที่กำลังดำเนินการก่อสร้างเท่านั้น แต่รวมไปถึงบริเวณที่จัดเก็บวัสดุ โกดังเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร และอื่นๆ เป็นต้น จึงควรมีข้อกำหนดละแนวปฏิบัติในสถานที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนงาน ดังนี้
– การทำรั้วกั้นโดยรอบบริเวณก่อสร้างทั้งหมด เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้างถ้าเป็นอาคารสูงอยู่ใกล้ชุมชน
– ในสถานที่ก่อสร้างต้องมีการแบ่งเขตก่อสร้างอย่างชัดเจนโดยแบ่งเขตที่พักอาศัยออกจากบริเวณก่อสร้างที่จัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหรือยังไม่ใช้ ออกเป็นระเบียบ
– ป้ายสัญลักษณ์ หรือป้ายเตือนภัยต่างๆ สถานที่ที่อันตรายทุกแห่งในเขตก่อสร้าง
– รอบตัวอาคารมีแผ่นกั้นกันวัตถุตกลงมาและมีตาข่ายคลุมอีกชั้น
– อาคารขณะก่อสร้างในที่มีช่องเปิดหรือที่ไม่มีแผงกั้น ควรทำราวกั้น และมีตาข่ายเสริมเพื่อป้องกันการตก
2. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร
เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างมีจำนวนมากมายตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก เช่น ปั้นจั่น รถยก เคริ่องตอกเสาเข็ม จนถึงขนาดเล็ก เช่น เครื่องเจียร สว่านไฟฟ้า ค้อน เป็นต้น อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักร จึงมีมากตามจำนวนอุปกรณ์และจำนวนผู้ใช้ ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรใช้อย่างถูกต้อง ดังเช่น
– การใช้ต้องไม่ผิดวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เครื่องจักรนั้น เช่น มักพบว่ามีการใช้ปั้นจั่นไปใช้ในการดึงหรือลากของที่มีน้ำหนักมากๆ หรือการใช้ลิฟท์ส่งวัสดุในการขึ้นลงของคนงานซึ่งเป็นเรื่องไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามประเภทของงาน จะทำให้เกิดประสิทธิผล และไม่ประสบอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรนั้น
– เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า หรือน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อควรปฏิบัติเครื่องมือเครื่องจักรที่ต้องใช้ไฟฟ้านั้น ต้องมีการเดินสายไฟอย่างปลอดภัย มีฉนวนหุ้มโดยตลอด และหากต้องทำงานใกล้กับบริเวณที่มีไฟฟ้าทราบทุกครั้ง เพื่อจัดการป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้น หรือบริเวณที่มีการเก็บเชื้อเพลิง ห้ามจุดไฟ หรือสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
– ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือเครื่องจักรทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขก่อนหรือหลังการใช้ทุกครั้ง
3. ความปลอดภัยส่วนบุคคล
– การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานหรือคนงานควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่ปล่อยชายเสื้อหรือแขนเสื้อหลุดลุ่ย รวมทั้งการไม่ใส่รองเท้าหรือใส่อย่างไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าแตะ เป็นต้น
– การละเลยหรือการไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมในงานก่อสร้าง ผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม เช่น หมวกนิรภัย แว่นตาเซฟตี้ ทุกคนควรจะสวมอยู่เป็นประจำ เข็มขัดกันตก หรืออุปกรณ์กันตกต่างๆ เมื่อคนงานทำงานบนที่สูง สวมรองเท้าเซฟตี้ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ใส่ถุงมือยางในการผสมคอนกรีต เป็นต้น
– ห้ามดื่มสุรา หรือเสพเครื่องดองของมึนเมา ห้ามเล่นหรือหยอกล้อกันในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
– จัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงอันตราย วิธีการปฏิบัติอย่างปลอดภัย กฎระเบียบ ข้องบังคับและข้อปฏิบัติที่ควรทราบ และสิ่งสำคัญยิ่งคือการสร้างจิตสำนึก ความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในคนงานทุกคน
– ตรวจสุขภาพคนงาน และตรวจประจำปีเพื่อทดสอบความพร้อมของร่างกายคนงานและเพื่อเป็นการสกัดกั้นโรคจากการทำงานซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
– จัดให้มีหน่วยงานปฐมพยาบาลและหน่วยฉุกเฉินขึ้นภายในหน่วยก่อสร้าง เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ และเพื่อเป็นการระงับเหตุอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
ที่มา : http://osh.labour.go.th
Uncategorized @th
มลพิษทางอากาศ ในที่ทำงาน
มลพิษทางอากาศ ในที่ทำงาน
ผลกระทบต่อผู้คนในขณะทำงาน มลพิษทางอากาศในที่ทำงานเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากการสัมผัสกับมลพิษ ในที่ทำงานเป็นระยะเวลานานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้ว่ามลพิษทางอากาศมักจะเกี่ยวข้องกับงานกลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่ แต่มลพิษทางอากาศ ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงงานกลางแจ้งเท่านั้น คุณภาพของกาศของงานกลางแจ้ง นั้นดีกว่าคุณภาพอากาศของงานในอาคารอย่างมีนัยสำคัญ เพราะลมที่อยู่ภายนอกสามารถหอบเอามลพิษออกไปได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่อากาศภายในอาคารไม่ค่อยถ่ายเท เนื่องจากไม่มีทางที่จะนำมลพิษออกไปด้านนอกได้ หากไม่เปิดหน้าต่างทั้งหมดในอาคาร
คุณภาพอากาศของที่ทำงานภายในอาคารอาจถูกปนเปื้อนได้จากก๊าซหรือไอระเหยต่าง ๆ หรือฝุ่นในอากาศ แม้กระทั่งพนักงานที่เป็นหวัด ก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายได้มากมายกับงานภายในอาคาร เพื่อลดโอกาสเกิดมลพิษทางอากาศในที่ทำงาน อาคารต่าง ๆ จึงถูกสร้างให้สามารถป้องกันไม่ให้อากาศผ่านเข้าออกให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร
หากอาคารต่าง ๆ ยังถูกสร้างให้สามารถป้องกันอากาศผ่านเข้าออกให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารได้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและทำให้เกิดมลพิษในอากาศน้อยลง การทำให้อากาศผ่านเข้าออกตัวอาคารได้น้อยที่สุด ยังมีจุดประสงค์ เพื่อไม่ให้สารเคมีที่เป็นอันตรายรั่วไหลออกไปนอกอาคารอีกด้วย เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศในที่ทำงานของคุณ เช่น พัดลมดูดอากาศ หน้ากากป้องกันมลพิษ เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น คุณควรพยายามกีดกันสารพิษอันตรายให้อยู่ภายนอกตัวอาคารให้ได้มากที่สุด โดยการขอให้พนักงานปรุงอาหารมาจากบ้าน และใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย หรือน้ำหอมก่อนจะมาทำงาน แทนที่จะมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ภายในอาคาร
ถ้าหากคุณยังไม่ได้เช่าอาคารสำนักงาน คุณควรมองหาพื้นที่ทำงาน ซึ่งมีการระบายอากาศที่ดี เพื่อที่อากาศที่ปนเปื้อน จะได้สามารถถ่ายเทออกไปข้างนอกอาคารได้โดยง่าย ถ้าคุณทำงานกลางแจ้ง และต้องการป้องกันไม่ให้มลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานของคุณ คุณควรให้พวกเขาใส่ อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากป้องกันมลพิษ ขณะที่พวกเขาอยู่กลางแจ้ง
ยิ่งไปกว่านั้น คุณควรพยายามกีดกันสารพิษอันตรายให้อยู่ภายนอกตัวอาคารให้ได้มากที่สุดโดยการขอให้พนักงานปรุงอาหารมาจากบ้านถ้าหากในอาคารมีห้องครัว และใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายหรือน้ำหอมก่อนจะมาทำงานแทนที่จะมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นภายในอาคาร
ถ้าหากคุณยังไม่ได้เช่าอาคารสำนักงาน คุณควรมองหาพื้นที่ทำงานซึ่งมีการระบายอากาศที่ดี เพื่อที่อากาศที่ปนเปื้อนจะได้สามารถถ่ายเทออกไปข้างนอกอาคารได้โดยง่าย ถ้าคุณทำงานกลางแจ้งและต้องการป้องกันไม่ให้มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อพนักงานของคุณ คุณควรให้พวกเขาใส่
อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากป้องกันมลพิษ ขณะที่พวกเขาอยู่กลางแจ้ง
ที่มา : www.thaiworkforce.com